วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สารเคมีผสมเพิ่มสำหรับคอนกรีต Concrete Admixture


สารเคมีผสมเพิ่ม (Concrete Admixture)

เพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางประการของคอนกรีต
*เพิ่มความสามารถในการทำงาน
*เพิ่มกำลัง
*เร่งการแข็งตัว
*หน่วงการแข็งตัว

แบ่งตาม มาตรฐาน ม.อ.ก. 733 ได้ 8 ประเภท

1.ประเภท A สารลดปริมาณน้ำ
(Water Reducers หรือ Plasticizers)
หมายถึง สารเคมีผสมเพิ่มซึ่งเมื่อใช้ผสมคอนกรีต แล้ว สามารถลดปริมาณน้ำต่อต่อหน่วยปริมาตรของคอนกรีตได้
โดยที่ความสามารถในการเทได้ของคอนกรีตคงเดิม

2.ประเภท B สารหน่วงการแข็งตัว
(Retarders)
หมายถึง สารเคมีผสมเพิ่มซึ่งเมื่อใช้ผสมคอนกรีตแล้ว ทำให้ระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตยาวนานขึ้น

3.ประเภท C สารเร่งการก่อตัว
(Accelerators)
หมายถึง สารเคมีผสมเพิ่มซึ่งเมื่อใช้ผสมคอนกรีตทำให้ระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตสั้นลง

4.ประเภท D สารลดน้ำ และ หน่วงการก่อตัว
(Water Reducing And Set Tetarding Admixtures)
หมายถึง สารเคมีผสมเพิ่มซึ่งเมื่อใช้ผสมคอนกรีตแล้ว สามารถลดปริมาณน้ำต่อหน่วยปริมาตรของคอนกรีต
โดยความสามารถในการเทได้ของคอนกรีตคงเดิม และ ทำให้ระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตยาวนานขึ้น

5.ประเภท E สารลดน้ำ และ เร่งการก่อตัว
(Water Reducing And Set Accelerating Admixtures)
หมายถึง สารเคมีผสมเพิ่มซึ่งเมื่อใช้ผสมคอนกรีตแล้วสามารถลดปริมาณน้ำต่อหน่วยปริมาตรของคอนกรีต
โดยที่ความสามารถในการเทได้ของคอนกรีตคงเดิม และ ทำให้ระยะเวลาการก่อสตัวของคอนกรีตสั้นลง

6.ประเภท F สารลดน้ำระดับสูง
(High Range Water Reducing Admixtures หรือ Superplasticizer)
หมายถึง สารเคมีผสมเพิ่มซึ่งเมื่อใช้ผสมคอนกรีตแล้ว สามารถลดปริมาณน้ำต่อหน่วยปริมาตรคอนกรีตได้
อย่างน้อยร้อยละ 12 โดยที่ความสามารถในการเทได้ของคอนกรีตคงเดิม

7.ประเภท G สารลดน้ำระดับสูงและหน่วงการแข็งตัว
(High Range Water Reducing And Set Retarding Admixture หรือ Set tetarding Superplasticizer)
หมายถึง สารเคมีผสมเพิ่มซึ่งเมื่่อใช้ผสมคอนกรีตแล้ว สามารถลดปริมาณน้ำต่อหน่วยปริมาตรคอนกรีตได้
อย่างน้อยร้อยละ 12 โดยที่ความสามารถในการเทได้ของคอนกรีตคงเดิม
และ ระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตยาวนานขึ้น

8.ประเภทอื่น ๆ
- สารป้องกันการเกิดสนิมในเหล็กเสริม
- สารกันซึม
- สารกักกระจายฟองอากาศ (Air Entraining Agents)
- สารเพิ่มความหนืด (Thickening)
- สารผสมเพิ่มเพื่อช่วยในการปั๊มคอนกรีต (Pumping Aids)






น้ำผสมคอนกรีต
น้ำมีความสำคัญต่อกำลังของคอนกรีตเป็นอย่างมาก

คุณสมบัติที่สำคัญของน้ำ
ความสะอาดไม่ควรมีสิ่งเจือปนต่าง ๆ
หลักง่าย ๆ ก็คือ น้ำที่ดื่มได้ เป็น น้ำที่ใช้ในงานคอนกรีตได้

ผลเสีย เมื่อ นำน้ำที่ไม่สะอาด มีสารเจือปน มาผสมคอนกรีต
1.น้ำทะเล ผลเสีย กำลังของคอนกรีตลดลงไปประมาณ 10 - 20 %
2.น้ำประปาที่มีส่วนผสมของคลอไรด์ ผลเสีย มีผลต่อการเกิดสนิมของเหล็กเสริม โดยเฉพาะลวดรับแรงดึงสูงสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง แก้ไขโดย ทิ้งน้ำประปาไว้ในถังน้ำสำรองเพื่อให้คลอไรด์ระเหยลดปริมาณลงเสียก่อน
3.สารเจือปนอื่น ๆ ในน้ำ มีผลให้กำลังของคอนกรีตลดลง เช่น ตะไคร่น้ำ น้ำตาล น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำมัน ตะกอน โดยที่ปริมาณที่ยอมให้มีสารเจือปนในน้ำต้องไม่เกินกว่าข้อกำหนดของ ASTM

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัสดุผสมคอนกรีต (Aggregate)
หมายถึง ทราย และ หิน ซึ่งเป็นส่วนผสมที่มีปริมาณมากที่สุดในเนื้อคอนกรีต
โดยทั่วไปมีปริมาณ 60 - 75 %

วัสดุผสมมีหน้าที่รับกำลัง

ปูนซีเมนต์ทำหน้าที่เป็นวัสดุประสาน


ความสำคัญของวัสดุผสม ต่อ คอนกรีต
1.วัสดุผสมมีราคาถูกกว่า ปูนซีเมนต์ อาจใช้วัสดุผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนการผลิต
2.วัสดุผสมมีความทนทาน และ ต้านทานต่อการสึกกร่อนได้ดีกว่า ซีเมนต์เพสต์
3.วัสดุผสมมีการหดตัว และ ขยายตัวได้ดีกว่าซีเมนต์เพสต์
4.วัสดุผสมสามารถตบแต่งผิว และ สี ให้สวยงามได้
5.วัสดุผสมต้านทานต่อไฟ ความร้อน และเสียง ได้ดี
6.วัสดุผสมมีหลายชนิด และ หลายหน่วยน้ำหนักให้เลือกใช้ นำมาสร้างคอนกรีตได้หลายลักษณะ


วัสดุผสมแบ่งเป็น 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 วัสดุผสมละเอียด (Fine Aggregate) = วัสดุมีขนาดเล็กลอดผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ได่ จัดเป็นวัสดุผสมละเอียด ได้แก่วัสดุประเภททราย เช่น ทรายบก ทรายแม่น้ำ

ประเภทที่ 2 วัสดุผสมหยาบ (Coarse Aggregate) = วัสดุที่ค้างบนตะแกรงเบอร์ 4 ได้แก่ กรวด หรือ หินจากโรงโม่ขนาดต่าง ๆ


# ตะแกรงเบอร์ 4 = (ใน 1 ตารางนิ้ว มี 16 ช่อง) #

ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้าง
ส่วนใหญ่เป็น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ แบ่งตาม สามาคมคมทดสอบวัสดุอเมริกัน (ASTM) ได้ 5 ประเภท

ประเภทที่1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา (Ordinary Portland Cement)
ใช้กับงานคอนกรีตทั่วไป ที่ไม่สัมพันธ์กับสภาวะอากาศรุนแรง หรือ ในพื้นที่ที่มีซัลเฟต
นิยมใช้ปูนซีเมนต์ประเภทนี้อย่างกว้างขวาง สามารถใช้กับสารเคมีผสมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางประการได้

ประเภทที่2 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง (Modified Portland Cement)
เป็นปูนซีเมนต์ที่ใช้กับงานที่เกิดความร้อน และ ทนซัลเฟตได้ปานกลาง

ประเภทที่3 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ให้กำลังอัดเร็ว (High Early Strength Portland Cement)
เป็นปูนซีเมนต์ที่พัฒนากำลังอัดได้สูงอย่างรวดเร็ว เหมาะกับงานคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็ว
งานที่ต้องถอดแบบในเวลาสั้น เช่น เสาเข็ม แผ่นพื้นสำเร็จรูป งานซ่อมแซมเร่งด่วน เป็นต้น

ประเภทที่4 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เกิดความร้อนต่ำ (Low Heat Portland Cement)
เป็นปูนซีเมนต์ที่เกิดความร้อนขณะก่อตัวต่ำ
ลดโอกาสการแตกร้าวเนื่องจากการสะสมความร้อน
เหมาะกับงานเทคอนกรีตปริมาณมาก เช่น งานก่อสร้างเขื่อนคอนกรีต เป็นต้น

ประเภทที่5 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทนซัลเฟตสูง (Sulfate Tesistance Portland Cement)
ปูนซีเมนต์ประเภทนี้มีปริมาณสารไตรคัลเซี่ยมอลูมิเนต (C3A) ต่ำ
ป้องกันไม่ให้ซัลเฟตจากภายนอกทำลายเนื้อคอนกรีต
แต่มความสามารถในการรับกำลังอัดช้า

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ชนิดของคอนกรีต
คอนกรีตที่ใช้งานโครงสร้างแบ่งออกได้ 5 ประเภทใหญ่ ๆ

1. คอนกรีตล้วน (Plain Concrete) เป็นคอนกรีตอย่างเดียวปราศจากวัสดุอื่นใด เหมาะสมกับโครงสร้างที่รับแรงอัดอย่างเดียว เช่น คอนกรีตที่เป็นแท่งใหญ่ (Mass Concrete) กำแพงกันดินแบบน้ำหนักถ่วง (Gravity Retainning Walls)

2.คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforce Concrete) เป็นคอนกรีตที่มีเหล็กเสริมเพื่อให้สามารถรับแรงอัด และ แรงดึงมากขึ้น นิยมใช้ในการก่สร้าง โครงสร้างอาคาร เสา คาน พื้น และ ฐานราก ซึ่งเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน

3.คอนกรีตอัดแรง (Prestress Concrete) เป็นโครงสร้างคอนกรีตที่ใช้เทคนิคลวดรับแรงดึงสูง (Tendon) และ ถ่ายแรงค้างไว้ในเนื้อคอนกรีต ทำให้โครงสร้างสามารถต้านทานต่อโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนได้

4.คอนกรีตเบา (Lightweight Concrete) คือ คอนกรีตที่มีความหนาแน่น หรือ หน่วยน้ำหนักน้อยกว่าคอนกรีตที่ใช้กันอยู่ทั่วไป มีค่าประมาณ 400 - 1900 กก./ลบ.ม. โดยคัดเลือกวัสดุผสมที่น้ำหนักเบาพิเศษ หรือ อาศัยปฏิกิริยาของผงด่างโลหะกับน้ำ ทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็กจำนวนมากในเนื้อคอนกรีต คอนกรีตจึงพองตัวและเบาขึ้น คอนกรีตเบานี้สามารถลดน้ำหนักอาคารได้มาก และ ประหยัดต้นทุนค่าก่อสร้างลงได้บางส่วน

5.คอนกรีตหล่อสำเร็จรูป (Precast Concrete) เป็นการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปจากโรงงาน แล้วจึงนำมาประกอบติดตั้ง ณ. สถานที่ก่อสร้าง เช่น ผนังสำเร็จรูป แผ่นพื้นสำเร็จรูป เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง คานสำหรับงานสะพาน หรือ ทางด่วน

งานคอนกรีต
คอนกรีต = ปูนซีเมนต์+วัสดุผสม(ทราย และ หิน)+น้ำ+อากาศ
เทลงตามแบบหล่อรูปร่างหน้าตัดต่างๆ ได้ตามต้องการ จากนั้นแปลสภาพจากของเหลวเป็นของแข็ง
ข้อได้เปลียบวัสดุอื่น คือ มีราคาถูก ไม่ติดไฟ มีความทนทานสูง อายุการใช้งานยาวนาน
ค่าบำรุงรักษาต่ำ สามารถทำผิวให้มีความสวยงามได้